วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ชุดการสอนเรื่องเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน



คำชี้แจงเกี่ยวกับชุดการเรียนการสอน

1. เอกสารฉบับนี้ เป็นเอกสารชุดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

เรื่อง เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
2. เอกสารชุดนี้ประกอบด้วย
- คำชี้แจงเกี่ยวกับชุดการเรียนการสอน
- คำแนะนำสำหรับครู
- คำแนะนำสำหรับนักเรียน
- แผนการจัดการเรียนรู้
- สื่อการเรียนรู้
- แบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน
- ใบความรู้เกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
- เครื่องซักผ้า
- กระติกน้ำร้อน
- เตารีด
- พัดลม
- โทรทัศน์
- ตู้เย็น
- หม้อหุงข้าว
- เครื่องปั่นน้ำผลไม้
- เครื่องปรับอากาศ
- เครื่องดูดฝุ่น






คำชี้แจงสำหรับครู



1. ครูศึกษารายละเอียดของคู่มือครูในชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ให้เข้าใจเพื่อสามารถใช้ชุดการสอนได้อย่างถูกต้อง
2. ศึกษาขั้นตอนต่างๆ ในแผนการจัดการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ให้เข้าใจอย่างชัดเจน เพื่อสามารถจัดกิจกรรมในแผนการเรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง
3. ตรวจสอบและจัดเตรียมเอกสารการเรียน สื่อการเรียนรู้ และเอกสารอื่นๆ ให้พร้อม
4. ดำเนินการสอนตามกิจกรรมการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้
5. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนโดยใช้แบบทดสอบที่เตรียมไว้
6. ครูต้องแจ้งจุดแระสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบก่อนการสอนทุกครั้ง
7. ลำดับขั้นการสอนในชั้นเรียนแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ
7.1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
7.2 ขั้นกิจกรรม
7.3 ขั้นสรุป
8. ครูประเมินผลตามแบบประเมินในแผนการจัดการเรียนรู้ และบันทึกผลตามแบบประเมินผล


บทบาทของครู


1. จัดเตรียมเอกสารและสื่อการเรียนการสอนให้พร้อมก่อนล่วงหน้า ทั้งนี้เพื่อให้การใช้สื่อการเรียนการสอนเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ
2. เป็นผู้สังเกตและควบคุมกิจกรรมการเรียนการสอน และการวัดผลประเมินผลให้เป็นไปตามลำดับขั้นตอน
3. ให้นักเรียนศึกษากิจกรรมตามขั้นตอนที่กำหนดในแผนการจัดการเรียนรู้
4. ครูควรดูแลนักเรียนให้ความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด ให้กำลังใจเสริมแรง คอยสังเกตพฤติกรรมแต่ละกิจกรรม เอื้ออำนวยความสะดวกแก่นักเรียน เพื่อให้การปฏิบัติกิจกรรมบรรลุตามวัตถุประสงค์

คำชี้แจงสำหรับนักเรียน




1. อ่านคำชี้แจงสำหรับนักเรียนให้เข้าใจก่อนลงมือศึกษาชุดการเรียนการสอน
2. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน จำนวน 10 ข้อ โดยใช้เวลา 10 นาที เพื่อประเมินความรู้เดิมของนักเรียน
3. นักเรียนศึกษาชุดการเรียนการสอนในใบความรู้เรื่องเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
4. นักเรียนทำกิจกรรมในใบมอบหมายงานที่ครูกำหนดให้ในแต่ละกิจกรรม
5. ทำแบบทดสอบหลังเรียน จำนวน 10 ข้อ โดยใช้เวลา 10 นาที เพื่อดูความก้าวหน้าในการเรียน
6. ในการทำกิจกรรมตามใบมอบหมายงาน ขอให้นักเรียนทำด้วยความตั้งใจ ให้ความร่วมมือ และมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองให้มากที่สุด โดยไม่ดูเฉลยก่อนทำบัตรกิจกรรมและแบบทดสอบ
7. หากนักเรียนเรียนไม่ทันหรือเรียนยังไม่เข้าใจ ให้รับชุดการเรียนการสอนไปศึกษา เพิ่มเติมนอก เวลาเรียน เพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น


ลำดับขั้นการเรียนโดยชุดการเรียนการสอน




อ่านคำแนะนำ


ทดสอบก่อนเรียน


กิจกรรมการเรียนรู้


ทำแบบฝึกหัด


ทดสอบหลังเรียน


ผ่านเกณฑ์ ไม่ผ่านเกณฑ์

ศึกษาชุดต่อไป
แผนภูมิ ลำดับขั้นการเรียนโดยชุดการเรียนการสอน เรื่อง เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน




แผนการจัดการเรียนรู้



โรงเรียนบ้านโป่งยอ ( จำเริญ โฆสิตสกุล ) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
จำนวนนักเรียน 14 คน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ไฟฟ้า เรื่อง เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
เวลา 14.30 น. - 15.30 น. วันที่สอน 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ชื่อผู้สอน นางสาวมัทนา สลับศรี
________________________________________________________________________
สาระสำคัญ
เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน คือสิ่งที่ช่วยทำให้สมาชิกายในบ้านมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น สามารถช่วยประหยัดในเรื่องของเวลา และสามารถทำกิจกรรมอื่นๆที่ทำควบคู่กันได้โดยไม่ต้องเสียเวลาเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่ง การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านต้องคำนึงถึงความปลอดภัย คำนึงถึงวิธีการใช้งานอย่างถูกต้องสามารถช่วยในเรื่องของการประหยัดพลังงาน และวิธีการดูแลรักษาทำความสะอาดอย่างถูกวิธีเพื่อยืดอายุการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้า
จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์นำทาง
นักเรียนบอกชื่อ วิธีการใช้งานและวิธีการดูแลรักษาทำความสะอาดของเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านอย่างง่ายๆ ได้
จุดประสงค์ปลายทาง
1 . นักเรียนบอกชื่อของเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านได้ถูกต้อง
2. นักเรียนอธิบายวิธีการใช้งานวิธีการดูแลรักษาทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านอย่างง่ายๆ ได้ถูกต้อง
สาระการเรียนรู้
1. บอกชื่อของเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
2. อธิบายวิธีการใช้งานและวิธีดูแลรักษาทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านอย่างง่ายๆ
กระบวนการจัดการเรียนรู้
1. บอกชื่อของเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
1.1 จัดห้องเรียนให้นักเรียนประจำที่ จัดโต๊ะเป็นแถว แถวละ 4 ตัว สามารถมองเห็นกระดานดำ
1.2 เร้าความสนใจ ให้นักเรียนมองบัตรภาพ และบัตรคำของเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
1.3 ครูอธิบายชื่อของเครื่องใช้ไฟฟ้า และให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน และกำหนดภาระงานให้นักเรียนทำใบมอบหมายงานที่ 1 กิจกรรมที่ 1 บอกชื่อของเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน 10 ข้อ
1.4 ปฏิบัติภาระงาน
- ให้นักเรียนทำกิจกรรมในใบมอบหมายงานที่ 1 กิจกรรมที่ 1
1.5 แลกเปลี่ยนความรู้ โดยตัวแทนนักเรียนบอกชื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าในแต่ละข้อ
1.6 นำเสนอผลงานโดยการให้นักเรียนออกมาบอกชื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าจากบัตรภาพ
1.7 ประเมินผล สรุป เพิ่มเติมเนื้อหา
2. อธิบายวิธีการใช้งานและการดูแลรักษาทำความสะอาด
2.1 จัดห้องเรียนให้นักเรียนประจำที่ จัดโต๊ะเป็นแถว แถวละ 4 ตัว สามารถมองเห็นกระดานดำ
2.2 เร้าความสนใจ ให้นักเรียนศึกษาใบความรู้ในเอกสารประกอบการเรียนการเรียน
2.3 ครูสาธิต วิธีการดูแลรักษาทำความสะอาดพัดลมตั้งพื้น และกำหนดภาระงานให้นักเรียนทำใบมอบหมายงานที่ 1 กิจกรรมที่ 2 วาดภาพเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่ตนเองชอบและบอกวิธีการใช้งานและวิธีการดูแลรักษาทำความสะอาด พร้อมระบายสีให้สวยงาม
2.4 ปฏิบัติภาระงาน
- ให้นักเรียนทำกิจกรรมในใบมอบหมายงานที่ 1 กิจกรรมที่ 2
2.5 บูรณาการให้นักเรียนระบายสีภาพเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ตนเองวาด

2.6 ให้นักเรียนที่นั่งแถวเดียวกันช่วยกันปฏิบัติการทำความสะอาดพัดลมตั้งพื้นที่ครูเตรียมไว้ให้ และประกอบให้เหมือนเดิม
2.7 ประเมินผล สรุป เพิ่มเติมเนื้อหา

สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ และนวัตกรรม
1. ชุดการสอนเรื่องเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
2. บัตรภาพ บัตรคำ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
3. ใบมอบหมายงานที่ 1 กิจกรรมที่ 1
4. ใบมอบหมายงาน ที่ 2 กิจกรรมที่ 2
5. พัดลมตั้งพื้นจำนวน 3 ตัว
การวัดผลและการประเมินผล
การวัดผล
1. วัดผลการบอกชื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านได้ ด้วยการตรวจใบมอบหมายงานที่ 1 กิจกรรมที่ 1
2. วัดผลการอธิบายวิธีการใช้งานและวิธีการดูแลรักษาทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ด้วยการตรวจใบมอบหมายงานที่ 1 กิจกรรมที่ 2
การประเมินผล
1. ประเมินผลการบอกชื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน พบว่านักเรียน จำนวน.....คน ยังไม่สามารถบอกชื่อของเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านได้ แก้ไขด้วยการให้ผู้เรียนศึกษาบัตรภาพ บัตรคำของเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
2. ประเมินผลการอธิบายวิธีการใช้งาน และวิธีการดูแลรักษาทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน พบว่านักเรียน จำนวน ...... คน ไม่สามารถอธิบายวิธีการใช้งานและการดูแลรักษาทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ แก้ไขด้วยการให้นักเรียนศึกษาใบความรู้ในเอกสารประกอบการเรียนการสอนเรื่อง เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน

บันทึกผลหลังสอน
……………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………

ลงชื่อ..............................................
(นางสาวมัทนา สลับศรี )
ครูผู้สอน

แบบทดสอบก่อนเรียน
เรื่อง เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
คำสั่ง ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย X ที่ตรงกับตัวเลือกที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว

1. ข้อใดไม่ใช่เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
ก. เครื่องซักผ้า ข. เครื่องถ่ายเอกสาร
ค. เตารีด ง. โทรทัศน์

2. เราควรเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์อะไรจึงเป็นการประหยัด
ก. เบอร์ 2 ข. เบอร์ 3
ค. เบอร์ 4 ง. เบอร์ 5

3. ใครไม่ช่วยประหยัดไฟฟ้า
ก. นิดปิดพัดลมเมื่อไม่ใช้
ข. ตองเปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้และออกนอกบ้าน
ค. จอยปิดไฟเมื่อเข้านอน
ง. แนนเปิดหน้าต่างแทนการเปิดเครื่องปรับอากาศ

4. การใช้เครื่องปรับอากาศ เราควรตั้งอุณหภูมิกี่องศาเซลเซียสจึงประหยัดไฟฟ้า
ก. 20 องศาเซลเซียส ข. 22 องศาเซลเซียส
ค. 23 องศาเซลเซียส ง. 25 องศาเซลเซียส

5. การทำความสะอาดพัดลมตั้งพื้น ควรทำอย่างไร
ก. ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ด ข. ใช้ฟองน้ำชุบน้ำยาเช็ดใบพัด
ค. ใช้ผ้าแห้งเช็ดให้สะอาด ง. ถูกทุกข้อ

6. เมื่อโทรทัศน์เสียเราไม่ควรทำอย่างไร
ก. ถอดด้านหลังซ่อมเอง
ข. บอกคุณพ่อให้ทราบ
ค. ให้คุณแม่โทรศัพท์บอกช่างมาซ่อม
ง. ถอดปลั๊กและบอกผู้ใหญ่ให้ทราบ

7. เราไม่ควรนำสิ่งใดเข้าไปแช่ในตู้เย็น
ก. ไอศกรีม ข. น้ำแข็ง
ค. น้ำผลไม้ ง. แกงร้อนๆ

8. ข้อใดเป็นการทำความสะอาดเครื่องปั่นน้ำผลไม้ที่ไม่ถูกต้อง
ก. ล้างโถปั่นด้วยน้ำสะอาด
ข. นำฐานมอเตอร์ไปแช่น้ำ
ค. ใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาดๆ เช็ดที่ฐานมอเตอร์
ง. เช็ดด้วยผ้าแห้งเช็ดโถปั่นหลังจากล้างด้วยน้ำ

9. การกระทำของใครเป็นการช่วยพ่อแม่ประหยัดไฟฟ้า
ก. หมิวเปิดโทรทัศน์ดูกับน้องคนละเครื่อง
ข. ซิมเปิดไฟฟ้าทุกดวงในบ้าน
ค. บิวรีดผ้าครั้งละหลายๆ ตัวในเวลาเดียว
ง. มุกซักผ้า 1 - 2 ชิ้น ด้วยเครื่องซักผ้า

10. เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดใดไม่ควรตั้งใกล้เตาไฟ หรือที่มีแสงแดดส่องถึง
ก. โคมไฟฟ้า ข. ตู้เย็น
ค. เครื่องดูดฝุ่น ง. เตารีด


ใบความรู้
เรื่อง เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
{ เครื่องซักผ้า
{ วิธีใช้เครื่องซักผ้าให้ประหยัดไฟฟ้าควรปฏิบัติดังนี้
- ควรใส่ผ้าแต่พอเหมาะ ไม่น้อยเกินไป และไม่มากจนเกินกำลังเครื่อง- ควรใส่ผ้าที่จะซักตามคำแนะนำของแต่ละเครื่อง- หากมีผ้าต้องซัก 1-2 ชิ้น ควรซักด้วยมือ- หากมีแสงแดดไม่ควรใช้เครื่องอบแห้ง ควรจะนำเสื้อผ้าที่ซักเสร็จมาตากแดด
{ วิธีทำความสะอาดเครื่องซักผ้าให้สะอาดทำได้โดยใช้แอมโมเนียสัก2 แก้วผสมน้ำเย็นธรรมดาครึ่งลิตรใส่ลงในเครื่องซักผ้า แล้วเปิดเครื่องทำงาน น้ำส้มสายชูจะ ช่วยไล่คราบฝุ่นออกจากตัวเครื่องและป้องกันการอุดตันได้ด้วย
{ ความปลอดภัย เครื่องซักผ้า เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องอยู่กับน้ำเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น เมื่อติดตั้งเครื่องเรียบร้อยควรต่อสายจากโครงโลหะของเครื่องลงดิน เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน และถ้าเครื่องเปียกน้ำควรเช็ดให้แห้งก่อนใช้


{ กระติกน้ำร้อน

{ วิธีใช้หม้อต้มน้ำร้อนอย่างประหยัดพลังงานและปลอดภัย - ควรเลือกใช้กระติกน้ำร้อนไฟฟ้าแบบฉนวนกันความร้อนที่มีประสิทธิภาพ - ใส่น้ำให้พอเหมาะกับปริมาณความต้องการที่จะใช้ และในระดับที่กำหนด อย่า ใส่น้ำให้เกือบเต็มเพราะเวลาน้ำเดือดอาจจะ มีน้ำล้นออกมาทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรได้
ถอดปลั๊กทันทีเมื่อเลิกใช้งาน- เมื่อน้ำเดือดจะต้องถอดปลั๊กทันที
- อย่าเสียบปลั๊กทิ้งไว้โดยไม่มีคนอยู่

{ วิธีการดูแลรักษาทำความสะอาดกระติกน้ำร้อน
ควรทำความสะอาดส่วนต่าง ๆ ของกระติก ตามคำแนะนำต่อไปนี้- ตัวและฝากระติก ใช้ผ้าชุบน้ำ บิดให้หมาดแล้วเช็ดอย่างระมัดระวัง- ฝาปิดด้านใน ใช้น้ำหรือน้ำยาล้างจานให้สะอาด- ตัวกระติกด้านใน ใช้ฟองน้ำชุบเช็ดให้ทั่ว ล้างให้สะอาดด้วยน้ำ

{ เตารีด



{ วิธีใช้อย่างประหยัดและปลอดภัย- ก่อนอื่นควรตรวจสอบดูว่าเตารีดอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานหรือไม่ เช่น สาย ตัวเครื่อง เป็นต้น- ตั้งปุ่มปรับความร้อนให้เหมาะสมกับชนิดของผ้า- อย่าพรมน้ำจนเปียกแฉะ{ วิธีการดูแลรักษาทำความสะอาด- ใช้ผ้าแห้งเช็ดสะอาดหลังใช้ รอจนเตารีดเย็นลงแล้วจึงนำไปเก็บไว้ในที่แห้ง
- ถ้าเตารีดขึ้นสนิม ใช้ยาสีฟันขัด
- ทาน้ำมันหล่อลื่นหรือเทียนไข เล็กน้อยลงบนเตารีดทุกสองสามเดือน



{ พัดลมตั้งโต๊ะ พัดลมตั้งพื้น พัดลมติดเพดาน


{ วิธีการใช้งานของพัดลมและความปลอดภัย
- อย่าเสียบปลั๊กทิ้งไว้ โดยเฉพาะพัดลมที่มีระบบรีโมทคอนโทรล เพราะจะมีไฟฟ้าไหลเข้าตลอดเวลา - ใช้ความแรงและความเร็วของลมให้เหมาะสม คำนึงด้วยว่ายิ่งเปิดพัดลมแรงและเร็วมาก ยิ่งใช้ไฟฟ้ามากขึ้นด้วย - ปิดเมื่อไม่ใช้งาน เพื่อให้มอเตอร์ได้มีการพักและไม่เสื่อมสภาพเร็วเกินไป - เลือกพัดลมที่มีเครื่องหมายมาตรฐาน
{ วิธีการดูแลรักษาความสะอาดพัดลม
- ถอดทำความสะอาดใบพัดและตะแกรงครอบใบพัด โดยการนำไปล้างน้ำใช้น้ำยาล้างจานขัดให้สะอาดแล้วล้างออกด้วยน้ำเปล่าแล้วใช้ผ้าแห้งเช็ดให้แห้ง อย่าให้มีฝุ่นละอองจับและต้องดูแลให้มีสภาพดีอยู่เสมออย่าให้แตกหักหรือชำรุด หรือโค้งงอผิดส่วนจะทำให้พัดลมสั่นและทำให้ลมที่ออกมานั้นมีความแรงหรือเร็วลดลง




{ โทรทัศน์ หรือ ทีวี

{วิธีการใช้งานโทรทัศน์ อย่างปลอดภัย อย่าเสียบปลั๊กทิ้งไว้ เพราะโทรทัศน์จะมีไฟฟ้าหล่อเลี้ยงระบบภายในอยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้นอาจก่อให้เกิดอันตรายในขณะเกิดฟ้าแลบได้
 ปิดเมื่อไม่มีคนมาดู หรือตั้งเวลาปิดโทรทัศน์โดยอัตโนมัติ เพื่อช่วยประหยัดไฟฟ้า
 ไม่ควรเสียบปลั๊กเครื่องเล่นวีดีโอในขณะที่ยังไม่ต้องการใช้ เพราะเครื่องเล่นวีดีโอจะทำงานอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้เสียค่าไฟฟ้าโดยไม่จำเป็น

{การดูแลรักษาและใช้โทรทัศน์ให้ถูกวิธี
 ไม่ควรปรับจอภาพให้สว่างเกินไป เพระจะทำให้หลอดภาพมีอายุสั้น และสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าโดยไม่จำเป็น
 ใช้ผ้านุ่มเช็ดตัวตู้โทรทัศน์ ส่วนจอภาพควรใช้ผงซักฟอกอย่างอ่อน หรือน้ำยาล้างจานผสมกับน้ำ ชุบทาเบา ๆ แล้วเช็ดด้วยผ้านุ่มให้แห้ง โดยอย่าลืมถอดปลั๊กออกก่อนทำ





{ ตู้เย็น


{ วิธีการใช้งานตู้เย็นและวิธีการดูแลรักทำความสะอาดตู้เย็น
- ควรวางตู้เย็นให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก- อย่าเปิดตู้เย็นทิ้งไว้นาน ๆ และอย่านำของร้อนมาแช่- หมั่นละลายน้ำแข็งเมื่อเห็นว่าน้ำแข็งเกาหนามาก

{ ข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัยและการใช้งานที่ทนทาน
1 . ห้ามตั้งตู้เย็นใกล้แหล่งความร้อน การตั้งตู้เย็นใกล้เตาไฟ หรือถูกแสงแดดส่องถึงจำทำให้ตู้เย็นต้องทำงานอย่างหนัก
2. ระมัดระวังอย่าให้สายไฟชำรุด ในการติดตั้งตู้เย็นต้องระมัดระวังอย่าให้สายไฟชำรุด อันเนื่องมาจากตัวตู้ทับสายไฟ หรือสายไฟถูกปาด ถ้าสายไฟเกิดชำรุด ต้องแจ้งให้ช่างเปลี่ยนโดย

{ หม้อหุงข้าว



{ วิธีการใช้งานหม้อหุงข้าว และวิธีการดูแลรักทำความสะอาดหม้อหุงข้าว

- ควรหุงข้าวให้พอดีกับจำนวนผู้รับประทาน- ควรดึงเต้าเสียบออกเมื่อข้าวสุกแล้ว- อย่าทำให้ก้นหม้อตัวในเกิดรอยบุบ จะทำให้ข้าวสุกช้า- หมั่นตรวจบริเวณแท่นความร้อนในหม้อ อย่าให้เม็ดข้าวเกาะติด จะทำให้ข่าวสุกช้าและเปลืองไฟ

{ ความปลอดภัยของการใช้หม้อหุงข้าว
เมื่อซาวข้าวและเติมน้ำตามกำหนด ควรเช็ดทำความสะอาดหม้อชั้นในให้แห้ง ไม่มีเศษข้าวหรือสิ่งอื่นใดหลงเหลืออยู่ แล้วจึงวางลงในหม้อชั้นนอก เสียบปลั๊กและกดสวิทช์ เมื่อข้าวสุกแล้วจึงค่อยดึงปลั๊กออก





{ เครื่องปั่นน้ำผลไม้




{ วิธีการใช้งานเครื่องปั่นน้ำผลไม้ และวิธีการดูแลรักษาทำความสะอาดเครื่องปั่นน้ำผลไม้และความปลอดภัย
- การใช้งานไม่ควรใช้งานต่อเนื่องเกิน 1 นาทีครึ่ง หยุดพักสัก 2 – 3 นาที แล้วจึงใช้เริ่มงานอีกครั้ง
- ถอดปลั๊กทุกครั้งก่อนทำความสะอาด
- ใช้ผ้าชุบน้ำพอหมาดเช็ดทำความสะอาด
- ห้ามนำมอเตอร์ไปแช่น้ำ

{ เครื่องปรับอากาศ




{ การใช้งานเครื่องปรับอากาศอย่างถูกวิธีและปลอดภัย
1. ควรเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศที่มีขนาดเหมาะสมกับขนาดของห้องเนื่องจากเครื่องปรับอากาศเป็นอุปกรณ์อำนวยความสุขที่ใช้ไฟฟ้ามาก
2. ปรับอุณหภูมิของเครื่องตามความเหมาะสม (โดยทั่วไปปรับที่ 25 oC)
3. อย่าเปิดหน้าต่างในขณะที่ใช้เครื่อง เพราะจะทำให้เครื่องทำงานหนัก
4. หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองเสมอโดยล้างด้วยน้ำอุ่นและสบู่
5. ควรติดตั้งเครื่องปรับอากาศให้ด้านหลังของเครื่องอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
6. เวลาใช้ไม่ควรตั้งอุณหภูมิให้เย็นเกินความจำเป็น เพราะเมื่อภายในห้องเย็นลงถึงอุณหภูมิที่ตั้งไว้คอมเพรสเซอร์จะหยุดเดิน และการใช้ไฟฟ้าจะลดลงเหลือเพียง 5%


{ เครื่องดูดฝุ่น
วิธีใช้เครื่องดูดฝุ่นให้ประหยัดพลังงานและปลอดภัย
เมื่อใช้แล้วควรเอาฝุ่นผงลงในถุงทิ้งทุกครั้งเพื่อเครื่องจะได้มีแรงดึงดูดดีและไม่กินไฟ
ซื้อเฉพาะประเภทที่มีสายดินพร้อมมากับปลั๊กไฟและติดตั้งระบบสายดินที่เต้ารับด้วย












ใบมอบหมายงานที่ 1 กิจกรรมที่ 1
บอกชื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน

ให้นักเรียนเขียนชื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ตรงกับภาพที่กำหนดให้ จำวน 10 ข้อ

1.
.........................................................................
2.
.........................................................................
3.
..........................................................................
4.
...........................................................................
5.
............................................................................
6.
.................................................................
7.
.......................................................
8.
................................................

9.
...................................................
10.
.................................................




ใบมอบหมายงานที่ 1 กิจกรรมที่ 2

ให้นักเรียนวาดภาพเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่นักเรียนชอบ 1 รูป ลงในกรอบและระบายสีให้สวยงาม พร้อมทั้งบอกวิธีการใช้งานและวิธีการดูแลรักษาความสะอาด












วิธีการใช้งาน : .............................................................................................
.........................................................................................................................
.........................................................................................................................
.........................................................................................................................
.........................................................................................................................
.........................................................................................................................
.........................................................................................................................
........................................................................................................................
วิธีการดูแลรักษาทำความสะอาด : ..............................................................
.........................................................................................................................
.........................................................................................................................
.........................................................................................................................


แบบทดสอบหลังเรียน
เรื่อง เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน


คำสั่ง ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย X ที่ตรงกับตัวเลือกที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว

1. ข้อใดไม่ใช่เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
ก. เครื่องซักผ้า ข. เครื่องถ่ายเอกสาร
ค. เตารีด ง. โทรทัศน์

2. เราควรเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์อะไรจึงเป็นการประหยัด
ก. เบอร์ 2 ข. เบอร์ 3
ค. เบอร์ 4 ง. เบอร์ 5

3. ใครไม่ช่วยประหยัดไฟฟ้า
ก. นิดปิดพัดลมเมื่อไม่ใช้
ข. ตองเปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้และออกนอกบ้าน
ค. จอยปิดไฟเมื่อเข้านอน
ง. แนนเปิดหน้าต่างแทนการเปิดเครื่องปรับอากาศ

4. การใช้เครื่องปรับอากาศ เราควรตั้งอุณหภูมิกี่องศาเซลเซียสจึงประหยัดไฟฟ้า
ก. 20 องศาเซลเซียส ข. 22 องศาเซลเซียส
ค. 23 องศาเซลเซียส ง. 25 องศาเซลเซียส

5. การทำความสะอาดพัดลมตั้งพื้น ควรทำอย่างไร
ก. ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ด ข. ใช้ฟองน้ำชุบน้ำยาเช็ดใบพัด
ค. ใช้ผ้าแห้งเช็ดให้สะอาด ง. ถูกทุกข้อ


6. เมื่อโทรทัศน์เสียเราไม่ควรทำอย่างไร
ก. ถอดด้านหลังซ่อมเอง
ข. บอกคุณพ่อให้ทราบ
ค. ให้คุณแม่โทรศัพท์บอกช่างมาซ่อม
ง. ถอดปลั๊กและบอกผู้ใหญ่ให้ทราบ

7. เราไม่ควรนำสิ่งใดเข้าไปแช่ในตู้เย็น
ก. ไอศกรีม ข. น้ำแข็ง
ค. น้ำผลไม้ ง. แกงร้อนๆ

8. ข้อใดเป็นการทำความสะอาดเครื่องปั่นน้ำผลไม้ที่ไม่ถูกต้อง
ก. ล้างโถปั่นด้วยน้ำสะอาด
ข. นำฐานมอเตอร์ไปแช่น้ำ
ค. ใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาดๆ เช็ดที่ฐานมอเตอร์
ง. เช็ดด้วยผ้าแห้งเช็ดโถปั่นหลังจากล้างด้วยน้ำ

9. การกระทำของใครเป็นการช่วยพ่อแม่ประหยัดไฟฟ้า
ก. หมิวเปิดโทรทัศน์ดูกับน้องคนละเครื่อง
ข. ซิมเปิดไฟฟ้าทุกดวงในบ้าน
ค. บิวรีดผ้าครั้งละหลายๆ ตัวในเวลาเดียว
ง. มุกซักผ้า 1 - 2 ชิ้น ด้วยเครื่องซักผ้า

10. เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดใดไม่ควรตั้งใกล้เตาไฟ หรือที่มีแสงแดดส่องถึง
ก. โคมไฟฟ้า ข. ตู้เย็น
ค. เครื่องดูดฝุ่น ง. เตารีด




บรรณานุกรม



การเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าและวิธีการดูแลรักษา . http://www.prakard.com/ . 26 ธันวาคม 2550
เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน . http://www.thaigoodview.com/ . 7 ตุลาคม 2545
การประหยัดพลังงานไฟฟ้าแบบง่ายๆ ของการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าให้ถูกวิธี . http://www.hometophit.com/
วิธีการประหยัดไฟฟ้า การเลือกซื้อ และการเลือกใช้ . www.sskedu4 .go.th
การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ . www.mea.or.th/apd/2/2.htm
วิธีใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด . www.pea.or.th/save/index.htm
เคล็ดลับการดูแลเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านให้ประหยัดและใช้ได้นาน . www.hometophit.com/hometh/interresting.php
เกร็ดการดูแลเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน . http://www.thaihomemaster.com/
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ . หนังสือเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 . โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว , กรุงเทพฯ : 2551